รีวิว ร่างทรง หนังผีไทย ที่ดังไปถึงเกาหลี ดูหนังออนไลน์วันนี้อยากจะมาพูดถึงเรื่อง ร่างทรง ภาพยนตร์แนวระทึกขวัญของไทยที่ได้รับกระแสตอบมามากจากประเทศเกาหลี พอเข้าฉายในทาง Netflix ก็มีกระแสตอบรับจากแฟนๆ ชาวไทยจนขึ้นเทรนในทวิตเตอร์ หนังที่สร้างมาในสไตล์สารคดี โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อ ในรูปแบบของร่างทรง โดยหนังได้ไปสำรวจชีวิตของครอบครัวหนึ่งในภาคอีสาน ที่มีการสืบทอดเชื้อสายของร่างทรงย่าบาหยันจากรุ่นสู่รุ่นมาหลายช่วงอายุคน โดย ป้านิ่ม (เอี้ยง-สวนีย์ อุทุมมา) เป็นร่างทรงคนปัจจุบัน เรื่องราวได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเมื่อ มิ้งค์ มีอาการที่แปลกไป จะเป็นยังไงต้องไปรับชมได้ในเรื่องนี้เลย ดูหนังออนไลน์ฟรี 2022
ความเป็นมาของ ร่างทรง ภาพยนตร์ไทย ที่อยากให้ได้ดู
รีวิว ร่างทรง หนังผีไทย ที่ดังไปถึงเกาหลี นี่คือการกลับมารับงานหนังสย่องขวัญพากย์ไทยครั้งล่าสุดของ โต้ง – บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับชั้นแนวหน้าในปัจจุบันของไทยจากทั้งผลงานปลุกกระแสผีไทยจาก “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” (2547) จนมาถึงสร้างประวัติศาสตร์หนังไทยพันล้านจากหนังสยองปนขำเรื่อง “พี่มากพระโขนง” (2556) ทำให้ทุกสายตาจับจ้องมาที่ตัวเขาในทุกย่างก้าว
และการก้าวรอบนี้ก็เรียกว่าเป็นบันไดก้าวแรกสู่ระดับนานาชาติของบรรจงอย่างแท้จริง เพราะเขาได้รับการทาบทามให้ร่วมงานกับผู้กำกับเกาหลีชื่อดังระดับเวทีนานาชาติอย่าง นาฮงจิน ที่เคยมีผลงานแนวสยองขวัญเรื่อง “The Wailing” (2016) ที่ได้รสชาติสยองชวนคิดที่น่าสนใจ และหนังเรื่อง “ร่างทรง” ก็ไปคว้าอันดับ 1 ในบ็อกซ์ออฟฟิศของเกาหลีมาได้ด้วยอย่างงดงามเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พร้อมคำชื่นชมในดีกรีความโหดขนหัวลุกของหนัง แน่นอนว่านี่คือความภูมิใจของคนไทยอย่างแท้จริงแล้ว โดยไม่ต้องสนใจว่าหนังจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร
มาถึงหนังสย่องขวัญ netflixของไทยที่กลายเป็นว่าเพื่อนบ้านที่อื่นๆ ได้มีโอกาสได้พิสูจน์ก่อนชาติที่เป็นเจ้าของเรื่องราว อย่าง “ร่างทรง” (The Medium) ที่เป็นการจับมือร่วมกันสร้างระหว่าง จีดีเอช กับ SHOWBOX ของเกาหลีใต้ พร้อมกับได้ทีมงานและทีมทำงานที่ผสมผสานทั้งไทยและเกาหลีในการสร้างสรรค์ผลงานหลอน ด้วยการหยิบเอาประเด็นความเชื่อท้องถิ่นมาปรุงแต่งให้กลายเป็นความสะพรึงชวนขนลุก แต่ผลลัพธ์ของหนังที่ออกมา…จะเป็นความสะพรึงแบบที่เขาร่ำลือกันจริงหรือเปล่านะ?
ร่างทรง ว่าด้วยเรื่องราวของความเชื่อทางไสยศาสตร์ท้องถิ่นทางภาคอีสานของไทย โดยหนังจะโฟกัสที่ครอบครัวหนึ่งที่เชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่เคารพบูชา และทำหน้าที่เป็นร่างทรงแบบสืบทอดกันมา แต่ปรากฏว่าพวกเขากับต้องเผชิญหน้ากับดวงวิญญาณและภูติผีที่แปลกประหลาดที่พยายามเข้ามาสิงสู่ในร่างของ มิ้งค์ หลานสาวของครอบครัว และเหตุการณ์ทั้งหมดนี้อาจจะต้องเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อของพวกเขาไปตลอดกาล
หนังใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบ Mockumentary หรือ หนังสารคดีล้อเลียน ที่เป็นหนังที่ซ้อนสารคดีไปในตัว ถือว่าเป็นการใช้สูตรที่ค่อนข้างท้าทายพอสมควร เพราะการเล่าเรื่องด้วยวิธีนี้มีหนังหลายเรื่องนำมาใช้และตกม้าตายไปก็หลายหนแล้วเช่นกัน แต่ ร่างทรง ก็เปิดตัวมาได้ค่อนข้างน่าสนใจ ด้วยการแนะนำเป็นการถ่ายทำสารคดีที่ตามชีวิต ป้านิ่ม ร่างทรงย่าบาหยัน ที่เป็นคนสืบทอดร่างทรงนี้ในรุ่นปัจจุบัน หนังดำเนินเรื่องในช่วงแรกได้อย่างกลมกล่อมและน่าสนใจพอตัว ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าชีวิตป้านิ่มและสิ่งที่เธอทำนั้นค่อนข้างอยากให้คนใฝ่รู้
แต่นั่นก็ดูเหมือนจะเป็นข้อดีหลักๆ เพียงอย่างเดียวในหนังเรื่องนี้ที่ทำออกมา ในขณะที่หนังเดินเรื่องมาได้สัก 15-20 นาทีแรกกับโจทย์ที่ค่อนข้างน่าสนใจ ก่อนจะค่อยๆ เลอะเลือนประเด็นเบนไปอีกทางที่ไกลออกไป เมื่อหันไปโฟกัสเรื่องราวของหลานสาวที่ชื่อ มิ้งค์ กับพฤติกรรมแปลกประหลาดของเธอที่ค่อนข้างเปลี่ยนไป ที่ยังคงหยิบความหลักแนวคิดความเชื่อทางศาสนามาเป็นเส้นกั้นบางๆ โดยใช้พุทธศาสนาและคริสตศาสน เข้ามาขนานเคียงข้างไปกับความเชื่อเรื่องภูตผี
ข้อมูลทั่วไป
ประเภท: ดราม่า / สยองขวัญ
ผู้กำกับ: บรรจง ปิสัญธนะกูล
นำแสดงโดย: นริลญา กุลมงพลเพชร, สวนีย์ อุทุมมา, ศิราณี ญาณกิตติกานต์
ความยาว: 131 นาที
กำหนดฉายในไทย: 28 ตุลาคม 2021
เนื้อเรื่องของร่างทรง
เรื่องราวการสืบทอดทายาทร่างทรง ย่าบาหยัน คือ ของครอบครัวหนึ่งในภาคอีสานของไทย เมื่อทายาทรุ่นปัจจุบันไม่อยากรับช่วงต่อแต่ก็ไม่อาจฝืนชะตาได้ นำมาสู่เรื่องราวเขย่าขวัญคนทั้งโลก!
เรื่องเกริ่นขึ้นใน ปี 2018 ทีมงานสารคดีทำข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวร่างทรงในไทย และไปพบเจ้าของเรื่องอย่าง ป้านิ่ม (เอี้ยง-สวนีย์ อุทุมมา) ที่เป็นร่างทรง ‘ย่าบาหยัน’ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นในจังหวัดเลย ที่น่าสนใจคือย่าบาหยันจะสืบทอดกันต่อเฉพาะลูกหลานที่เป็นผู้หญิงในตระกูลของป้านิ่มเท่านั้น
โดยคนที่มีแนวโน้มรับต่อในปัจจุบันมากที่สุดคือ มิ้งค์ (ญดา-นริลญา กุลมงคลเพชร) ลูกของพี่สาวป้านิ่มนั่นเอง ทำให้ทีมสารคดีขออนุญาตมาถ่ายทำป้านิ่มและครอบครัวในปี 2019 จนได้มาเจอเรื่องราวต่าง ๆ และตัดสินใจเปลี่ยนหัวข้อของสารคดีจากเรื่องว่าร่างทรงคืออะไร มาเป็นเรื่องของการสืบทอดร่างทรงแทน
บทวิเคราะห์
เรื่องราวของมิ้งค์ในช่วงเกริ่นแรกๆ ก็ยังพอดูได้ แต่ยิ่งเป็นหนักเข้า ก็พลอยทำให้ภาพรวมของหนังเริ่มสั่นคลอนและสะเปะสะปะรุงรังไปหมด สุดท้ายก็ยังคงหยิบเอาสูตรสำเร็จหนังผีเดิมๆ ที่จีดีเอชเคยทำมาแล้ว อีกทั้งยังไปหยิบยืมองค์ประกอบของหนังออนไลน์ไทยแนวๆ นี้มาใช้สร้างสมดุลให้กับหนัง หลายคนอาจจะรู้สึกว่าหนังค่อยๆ ไต่ระดับความพีคในเรื่องราวยิ่งขึ้นไป แต่กลับมองว่าหนังยิ่งเละเทะยิ่งขึ้นๆ มากกว่า
โดยเฉพาะช่วงราวๆ 20 นาทีสุดท้ายของหนัง กลายเป็นความนรกแตกที่เหมือนผัดกับข้าวในขั้นตอนท้ายๆ ที่ปรับเร่งไฟขึ้นและหยิบจับใส่เครื่องปรุงนั่นนี่ลงกระทะแบบรัวๆ จนเปลวไฟลุกฉ่า แต่ผลลัพธ์ที่พยายามจะทำให้คนดูรู้สึกตกตะลึงและหวาดผวากับตัวหนังถือว่าล้มเหลว กลับรู้สึกว่าหนังพาคนดูมาได้ไกลมาก…ไกลจนเกินไป เมื่อลองเหลียวมองหันหลังกลับไปดูจุดเริ่มต้นที่หนังได้สั่งสมเอาไว้เสียดิบดี แต่ช่วงสุดท้ายคือ…เมนูที่ดูจัดจ้านแต่รสชาติยังไม่กลมกล่อม
เอาจริงๆ ก็ไม่อยากจะคิดไปเองว่า หรือว่า “โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล” หมดแพชชั่นกับการทำหนังสย่องขวัญ แนะนําที่เขาเคยทำเอาไว้ขึ้นหิ้งมาแล้วหรือเปล่า วิสัยทัศน์ต่างๆ ในหนังเรื่องนี้แทบไม่ค่อยเห็นความจัดจ้านในรูปแบบหนังผีของโต้งที่เคยสร้างสรรค์ออกมาเลย ถือว่าดีที่มีโปรดิวเซอร์เกาหลี “นาฮงจิน” มาช่วยคลุมโทนของหนังเอาไว้ได้อยู่หมัด ไม่เช่นนั้น ร่างทรง อาจจะการมีความเละเทะ ทะลุทะลวงลอยแม่น้ำโขงไปไกลได้
แต่กระนั้นก็ต้องยอมรับฝีไม้ลายมือของทีมนักแสดงในหนังเรื่องนี้ ที่เป็นความฉลาดของหนังที่ไม่เลือกใช้ดาราที่มีชื่อเสียงมาถ่ายทอดเรื่องนี้ การใช้นักแสดงโนเนมมาสวมบทบาทก็ทำให้คนดูรู้สึกเข้าถึงคาแรกเตอร์ต่างๆ ได้ดี ต้องปรบมือให้กับ “ญดา นริลญา” ที่แม้ว่าจะเป็นนักแสดงสาวที่เคยมีผลงานเล่นซีรีส์มาบ้างประปราย
แต่มาในเรื่องนี้เจองานหินแต่เธอก็สู้ไม่หวั่นเช่นกัน คาแรกเตอร์ของเธอค่อนข้างหนักหน่วงพอสมควร ทั้งแอคติ้งเป็นคนทั่วไปก็ว่ายากแล้ว นี่ต้องมาเล่นเป็นคนไม่ปกติ และสีหน้า-แววตาทางการแสดงของเธอ ก็ถือว่าเกื้อกูลต่อตัวหนังได้ระดับหนึ่ง
แต่ดาวเด่นจริงๆ ในหนังก็คงต้องยกให้ “สวนีย์ อุทุมมา” คนนี้ไม่ต้องพูดอะไรเยอะ แม้ว่าเราจะเห็นเคยเธอรับบทตัวประกอบ-ตัวละครสมทบอยู่เรื่อยๆ แต่ฝีมือการแสดงของเธอนั้น เทียบชั้นครูได้เลย ทุกๆ ฉากที่มีเธอปรากฏตัวขึ้นมาในหนังนั้น มีพลังอย่างเหลือล้น เธอจึงกลายเป็นตัวละครที่ช่วยพยุงหนังเอาไว้ได้อย่างแท้จริง เป็นการแสดงที่ปลดปล่อยออกมาในรูปแบบน้อยแต่มาก ทั้งอินเนอร์และท่าทางออกมาเองโดยอัตโนมัติ ต้องยกให้เธอคนนี้จริงๆ
อีกองค์ประกอบหนึ่งที่คงต้องชื่นชมในหนังเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นงานออกแบบศิลป์ในฉากต่างๆ พิธีกรรมที่จัดฉากขึ้นมาดูมีมนต์ขลังในแบบที่ไม่ต้องพยายาม ทีมงานทำการบ้านในเรื่องนี้ค่อนข้างน่าพอใจ ยิ่งมาผนวกกับบรรยากาศโลเคชั่นป่าฝนริมโขง แถวพื้นที่ จ.เลย และภาคอีสานตอนบน ยิ่งเพิ่มโทนบรรยากาศของหนังให้ดูมีความเลื่อมใสอยู่ไม่น้อย
จุดเด่นและจุดสังเกต
รีวิว ร่างทรง หนังผีไทย ที่ดังไปถึงเกาหลี งานศิลป์ โทนภาพ ฉาก เสียงดนตรี การแสดง สุดยอด บทมีไอเดียที่น่าสนใจ ท้าทายจารึตสังคมไทยได้สนุก ครึ่งหลังสยองมันสาแก่ใจคอสยองขวัญ ไม่สามารถอินกับเรื่องได้เลย เพราะเลือกวิธีการนำเสนอผิดพลาดที่ส่งผลกับหนังทั้งเรื่อง
ถ้าเราสังเกตให้ดีเราจะเห็นว่า การใช้บทสวดมนต์อะไรต่าง ๆ ในหนังใหม่ แทบจะไม่มีภาษาบาลีสอดแทรกเลย การสวดของร่างทรงก็จะเป็นภาษาที่เราฟังไม่รู้เรื่อง หรือการใช้คำพูดแบบบ้าน ๆ ในแบบที่เราเข้าใจแทน พระสงฆ์นศาสนาพุทธและนักบวชศาสนาคริสต์ที่อยู่ในเรื่องเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น แม้แต่ตอนที่สำคัญที่สุดก็คือการประกอบพิธีกรรมการขับไล่ผี
แม้จะมีพระสงฆ์เข้ามาร่วมทำพิธีด้วย แต่ก็เป็นเพียงส่วนประกอบเล็ก ๆ ที่ทำอยู่ภายใต้แนวความคิดของศาสนาผีที่เป็นหลักมากกว่า และผู้เป็นญาติของผู้ถูกผีสิงก็ไม่เลือกทางให้พระสงฆ์รักษาด้วยซ้ำ นี่ก็ตอบได้ว่าชาวบ้านให้ความสำคัญกับศาสนาผีอยู่เหนือศาสนาพุทธหรือศาสนาสากลอย่างแท้จริง
หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ผู้กำกับและทีมงานเขาตั้งใจใส่ภาพคติความเชื่อทางศาสนาผีเข้าไปในเฟรมหลายจุดโดยที่ไม่ต้องอธิบายอะไร เช่นการมีศาลในท้องนา การมีหิ้งบูชากุมารในเธคผับ การถ่ายภาพกระถางน้ำพุรูปพญานาค การมีหิ้งบูชาผีในบ้านที่ใหญ่กว่าหิ้งบูชาพระ
การขับรถผ่านศาลแล้วบีบแตร การใช้ผ้าสีพันรอบต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยที่ไม่เล่าหรืออธิบายสิ่งที่เห็นเลยด้วยซ้ำ นี่คือความชาญฉลาดของทีมงานที่เขาต้องการใส่คติความเชื่อเรื่องผีเข้าไป ทำให้เรารู้สึกว่าผีนั้นมีความใกล้ชิดกับคนมากจนเราแทบไม่รู้สึกอะไร เป็นเรื่องปกติ
และเมื่อเขาทำให้เราคุ้นชินกับความใกล้ชิดความศรัทธาของศาสนาผีแล้ว เขาก็มาตลบหลังให้เราเห็นว่าศาสนาสากลที่เรานับถือในปัจจุบันนี้ อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ก็เป็นได้ อย่างเช่นการเปลี่ยนศาสนาเพื่อต้องการปฏิเสธความเชื่อเดิม แต่เมื่อศาสนาใหม่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ก็หันไปเชื่อและนับถือในความเชื่อดั้งเดิมเป็นต้น
สรุปการรีวิวเรื่องร่างทรง
อนุภาคต่าง ๆ ในเรื่องร่างทรงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางคติชนวิทยา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องร่างทรง การเปลี่ยนผ่านการเป็นร่างทรง ผี การเคารพและการประนีประนอมกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องเคล็ดลางคุณไสย หรือคติความเชื่อทางศาสนาผีบางประการ ผมคงไม่สามารถอธิบายได้ในการรีวิวส่วนนี้ได้หมด
เพราะมีเนื้อหาที่ยาวและมีรายละเอียดที่มากเกินไป ประมาณว่าหากตั้งใจพูดถึงอนุภาคเรื่องเหนือธรรมชาติทั้งหมดในภาพยนตร์ก็น่าจะเขียนเป็นงานวิจัยมา 1 เล่มหนา ๆ ได้เลย ในจุดนี้ขอบอกว่าหากใครเรียนทางสาขามานุษยวิทยาและคติชนวิทยา หากนำประเด็นเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติจากภาพยนตร์เรื่องร่างทรงไปต่อยอดทำการวิจัยได้ จึงขอยกยอดไปในการเขียนบทความฉบับย่อในส่วนของ “เชิงอรรถการอธิบายสิ่งเหนือธรรมชาติในภาพยนตร์ไทยเรื่องร่างทรง” ในครั้งต่อไป
เอาเป็นว่าในภาพรวมนั้น ร่างทรง ยังไม่ใช่หนังที่สมบูรณ์แบบใดๆ การใช้สูตร Mockumentary ของหนังเกือบจะล้มเหลว ในขณะที่บทหนังก็ดูยังไม่แข็งแรงเพียงพอ หนังพยายามบิ้วท์ความกลัวและความสยองขวัญมากเกินไป เปิดเรื่องมาด้วยประเด็นที่ชัดเจนและน่าสนใจ
แต่ดันเบนเข็มไปแตะต้องสูตรสำเร็จความน่ากลัวแบบเดิมๆ ที่ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกบันเทิงตามด้วยสักเท่าไหร่ จากการเปิดตัวร่างทรงแบบสวยๆ มาปิดท้ายกลายเป็นงานคนทรงที่เละเทะข้าวของกระจัดกระจายเต็มไปหมด และโดยสรุปแล้ว ความสะพรึงของหนังก็ยังไม่ได้ดีเลิศอะไรขนาดนั้น