รีวิว Doctor Sleep ลางนรก
หลังจากเหตุการณ์ใน The Shining ในอีก 40 ปีถัดมาจากเหตุการณ์สยอง รีวิว Doctor Sleep ลางนรก ณ โรงแรมโอเวอร์ลุก ที่ยังคงทำให้แดนรู้สึกหวาดกลัวจนถึงทุกวันนี้ ดูหนังฟรี แดนพยายามหาวิธีให้ตัวเองได้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขที่สุด แต่ความสงบสุขนั้นกลับพังทลายลงเมื่อแดนได้เจอกับ แอบรา หญิงสาวจิตใจกล้าหาญเจ้าของพลังวิเศษเรียกว่า “ไชน์” ที่เดินทางออกตามหาแดนเพื่อขอความช่วยเหลือให้ร่วมต่อสู้กับ ดูหนังฟรี โรส เดอะ แฮต ผู้เหี้ยมโหด และเดอะ ทรู น็อต ดูหนังออนไลน์ กลุ่มลัทธิคัลต์ลูกสมุนของเธอ ที่ออกตามล่าเด็กผู้บริสุทธิ์เพื่อชีวิตอมตะของตัวเอง รีวิวหนังผี
แนะนำให้อ่านบทความที่มาที่ไปของเรื่องนี้จากนี้ก่อนครับ ย้อนตำนานคำสาปสยอง The Shining คืนนรก ก่อนมาสู่ภาคต่อใน Doctor Sleep ลางนรก
ดูจากเปลือกถึงแก่นวิธีการเล่าหนังเรื่อง Doctor Sleep ลางนรก ค่อนข้างชัดเจนว่ามีความตั้งใจสืบทอดมรดกของหนังอย่าง The Shining (1980) ของผู้กำกับดังอย่าง สแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) ในเชิงคารวะอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการตัดต่อแบบครอสเฟด การตั้งกล้องถ่ายบทสนทนาที่นิ่งงัน และเสียงดนตรีที่ใช้แบบเดียวกับหนังของคูบริก ยังไม่นับรวมการสร้างฉากเปิดเรื่องของ The Shining ที่กล้องค่อย ๆ บินข้ามทะเลสาบไล่ตามรถของทอร์แรนซ์ที่วิ่งไปตามไหล่ภูเขาสู่โรงแรมโอเวอร์ลุก จนกระทั่งโถงและห้องหับต่าง ๆ ในโรงแรมขึ้นมาใหม่เพื่อให้ตัวละครได้กลับไปอีกครั้ง หนังผีสยองขวัญ
(ซ้าย) จาก The shining ปี 1980 (ขวา) จาก Doctor Sleep ปี 2019
ซึ่งทั้งหมดคือฝีมือของผู้กำกับ ไมก์ ฟลานาแกน (Mike Flanagan) ที่สร้างชื่อจากซีรีส์เรื่อง The Haunting of Hill House ฮิลล์เฮาส์ บ้านกระตุกวิญญาณ ทางเน็ตฟลิกซ์ จนได้รับคำชมล้นหลามจากการบรรยากาศสยองได้อย่างคลาสสิกและท้าทาย เขาจึงเป็นตัวเลือกอันดับแรก ๆ ในการสานต่องานภาพยนตร์ของผู้กำกับระดับตำนาน และเนื้อเรื่องจากหนังสือยอดนิยมของ สตีเฟน คิง (Stephen King) ราชานิยายสยองขวัญแห่งยุค ให้ออกมาลงตัวที่สุด
ซึ่งถ้าพิจารณาจากความเป็นคนนอกไม่ใช่แฟนของคิง หรือคูบริก เราคงบอกได้เต็มปากว่านี่เป็นหนังที่เดินเรื่องได้ง่วงเหงาหาวนอนได้สมชื่อ หมอหลับ มาก ๆ ทั้งบทสนทนาแบบนิยาย การถ่ายและเล่าปูเรื่องที่อืดอาดมากรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ซึ่งดันเป็นสไตล์นิยายที่มักมีจุดล้น ๆ และอิหยังวะในบางจุด ยิ่งเรื่องนี้มีปัญหามาตั้งแต่ตัวนิยายที่เส้นเรื่องเยอะและดูไม่ได้เข้ากันลงตัว ทั้งเรื่องราวของ แดนนี่ ที่โตมาประสบปัญหาเดียวกับพ่อคือติดเหล้าและอารมณ์ร้าย เรื่องราวของแดนที่เป็นบุรุษพยาบาลดูแลคนชราที่มีแมวที่รู้ล่วงหน้าว่าใครจะตายเป็นคู่หู และแดนต้องทำหน้าที่นำพาผู้ป่วยสู่สุขคติจนได้ชื่อ หมอหลับ เรื่องราวของกลุ่มลัทธิสูบวิญญาณคนเพื่อต่อชีวิตตนเองในนามทรูน็อตที่มีผู้นำคือสาวสวยนาม โรสเดอะแฮต ที่ไล่ล่าผู้มีญาณวิเศษรวมถึงชักชวนสมาชิกใหม่เข้ากลุ่ม
เรื่องราวของแอบราเด็กสาวที่มีพลังไชน์นิ่งเหนือกว่าผู้ใดที่ต้องปกปิดพลังเพื่อให้คนรอบตัวสบายใจ เรื่องราวความสัมพันธ์ของแดนกับแอบราในฐานะเพื่อน ครอบครัว และครูกับศิษย์ รีวิว Doctor Sleep ลางนรก
เรื่องราวการสะสางปมในอดีตของแดนกับโรงแรมโอเวอร์ลุก จะเห็นว่าแค่พลอตเองก็มีมากมายแล้วในเรื่องเดียว แม้จะเรียงร้อยเป็นเนื้อเดียวด้วยการผูกสถานการณ์ได้ แต่ในภาพรวมของธีมและพลอตใหญ่เรากลับพบว่าหนังไม่สามารถไปถึงจุดที่ชัดเจนได้ ผู้ชมหลายคนจึงรู้สึกว่าหนังมีเรื่องเล่าเยอะมากและกระจัดกระจาย
เมื่อมองเช่นนี้ก็ต้องบอกว่า จริงแล้ว Doctor Sleep ลางนรก คงเป็นหนังที่ทำมาเอาใจแฟนหนังหรือนิยายเดิมมาเสียมากกว่า ซึ่งข้อดีก็มีไม่ใช่น้อย คือถ้าคุณเป็นคนที่อ่านนิยายมาทั้ง 2 เล่ม คือ คืนนรก และ ลางนรก หนังเรื่องนี้มีการตัดส่วนเกินที่ทำให้หนังเดินเป๋ออกไปเช่นประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างแดนกับแอบรา ซึ่งเป็นข้อดี ในขณะที่การบิดบทสรุปของ The shining ในปมเรื่องพ่อของแดนหนังก็ทำได้ลงตัวดีกว่านิยายพอสมควร ถือว่าเป็นการดัดแปลงหนังสือมาเป็นหนังที่ดีเลยทีเดียว เสียดายเพียงว่าต้นทางหนังสือของคิงนั้นก็บิดให้สนุกกว่านี้ได้ยาก โดยเฉพาะพลอตฮีโรสู้ปีศาจที่ราวกับหนังมาร์เวลในแบบคิงนี่เป็นอะไรที่ควรสนุกล่ะ แต่ก็เกินเลยจากความน่ากลัวจริง ๆ ในแบบ The Shining ไปมากทีเดียว และถ้าผู้สร้างยังเคารพคิงอยู่แบบนี้ มันก็ยิ่งเป็นงานยากเข้าไปใหญ่ในการจะจับต้องส่วนต่าง ๆ ของหนังโดยเฉพาะการตัดทิ้งที่ควรทิ้งได้มากกว่านี้
เช่นนี้แล้วในตัวไมก์ ฟลานาแกน จึงมีทั้งด้านขัดแย้งในการต้องประสานไมตรีระหว่างคูบริกกับคิง ในขณะเดียวกันก็มีด้านที่อ่อนโยนในการเคารพที่จะดัดแปลงให้ลงตัวมากที่สุด เราจึงเห็นรอยแผลของผีคูบริกและผีคิงในหัวของผุ้สร้างผ่านตัวผลงานหนังเรื่องนี้ออกมาอย่างเมามัน เรียกว่าทั้งเคารพและสาวหมัดใส่กันไม่ยั้ง ตั้งแต่เรื่องราวตามนิยายของคิงเป็นแกน แต่รายละเอียดที่สำคัญที่คูบริกแก้ภาพจำไปแล้วอย่างเลขห้อง ทิศทางศิลป์ของหนัง หรือชะตาของดิ๊กใน The Shining กลับเจริญรอยตามคูบริก ฉากจบที่คูบริกเปลี่ยนนิยายของคิงไปแล้วใน The Shining ก็เช่นกัน ฟลานาแกนก็มาช่วยแก้ไขให้คิงได้เอาคืนคูบริกใน Doctor Sleep อีก คือถ้าเป็นแฟนของทั้ง 2 ท่านนี้ทำการบ้านทั้งแบบนิยายและฉบับหนังมาดี จะสนุกมากกับการเห็นการชิงชัยระหว่าง 2 แนวคิดจริง ๆ มันมาก
ยิ่งช่วง 30 นาที สุดท้ายนี่คือคูบริกชนะเลิศ แฟนฟินกระจายไปเลย ถ้าเป็นแฟนหนังมาก่อนห้ามพลาดเด็ดขาดเลย แค่อดทนผ่านช่วงเวลาแห่งคิงราว ๆ 2 ชั่วโมงก่อนหน้าเท่านั้นเอง
โดยสรุปนี่เป็นหนังที่เหมาะกับแฟนหนังฉบับเดิมของคูบริกมากที่สุด รองลงมาคือแฟนหนังจากนิยายของคิง และท้ายสุดคนที่อยากลองประสบการณ์แปลกใหม่ที่คลุกผสมผลงานตำนานจาก 2 สื่อมารวมกันด้วยวิสัยทัศน์ที่ดีมากตามกรอบจำกัดที่ชื่อว่าความเคารพต่อต้นฉบับนั่นเอง
ความทรงจำอันเลวร้ายดูจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราทุกคน มันเป็นชิ้นส่วนที่เราไม่เคยปรารถนาให้เกิดขึ้น แต่แล้วจู่ๆ ชีวิตก็จับเราไปวางไว้ตรงจุดนั้น ขีดเส้นเรื่องราวจนเสร็จสรรพ แล้วปล่อยให้เราเอาตัวรอดออกมาเองเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออะไรเลย และหากรอดมาได้ มันก็จะทิ้งบาดแผลเอาไว้ให้ได้ระลึกถึง ครั้นหลับตาลงเมื่อใดความทรงจำนั้นก็ดูท่าว่าพร้อมจะจู่โจมหัวใจอยู่เสมอ อย่างเช่นที่ แดนนี่ ทอแรนซ์ พบเจอและเลือกที่จะวิ่งหนีตลอดมา
แดนนี่ ทอแรนซ์ เป็นเด็กชายที่สูญเสียพ่อไปในฤดูหนาวอันโหดร้าย เมื่อครอบครัวของเขาต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในโรงแรมโอเวอร์ลุกยาวนานถึง 5 เดือน โดยที่มันไม่ต่างอะไรจากโรงแรมปิดตายเลยสักนิด เหตุเพราะโรงแรมตั้งอยู่บนภูเขาสูง ยามที่ลมเปลี่ยนทิศ และฤดูหนาวกล้ำกรายเข้ามา หิมะจะท่วมสูง อากาศหนาวเหน็บ และบรรยากาศเงียบสงัด มันโดดเดี่ยวพอที่จะทำให้ใครคนหนึ่งคลุ้มคลั่งได้ และไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด แจ็ค ทอร์แรนซ์ ก็โดนสถานที่แห่งนี้กลืนกิน เขาไล่ล่าฆ่าฟันครอบครัวตัวเอง แต่คนที่ถูกความตายเล่นงานกลับเป็นเขา แจ็คจึงจากไปในฤดูหนาวนั้น ทิ้งให้เวนดี้ต้องดูแลแดนนี่ตามลำพัง เธอพาลูกชายตัวน้อยย้ายไปยังสถานที่ที่ไม่ต้องพบเจอกับหิมะอีก เพราะไม่อยากหวนไห้ถึงเหตุการณ์นี้อีกต่อไป แม้ว่าในส่วนลึกในใจของทั้งสองจะยังติดอยู่ในโรงแรมแห่งนั้นก็ตาม
Doctor Sleep เป็นส่วนที่เกิดขึ้นหลังจาก The Shining (1980) โดยเนื้อหาของทั้งสองเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนวนิยายของสตีเฟ่น คิง เจ้าพ่อนวนิยายสยองขวัญที่ผลงานถูกหยิบไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่ง The Shining นั้นถูกหยิบไปกำกับโดยสแตนลีย์ คูบริก ตัวนวนิยายถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1977 และเพียงอีกสามปีต่อมาคูบริกก็เนรมิตรทุกอย่างให้ออกมาโลดแล่นบนหน้าจอ ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าสุดท้ายคิงก็ไม่ได้ปลื้มผลงานที่ออกมาเท่าไรนัก แม้ว่ามันจะมีความยอดเยี่ยมอยู่ก็ตาม
ส่วนแรกคือการแสดงของแจ็ค นิโคลสัน คิงบอกว่าการที่แจ็คมาแสดงบทนี้มันทำให้เจตนารมณ์ของตัวละครเขาเปลี่ยนไป ผู้ชมต่างติดภาพจำของเขาจากเรื่อง One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1975) ดังนั้น เมื่อมารับบทแจ็ค ทอร์แรนซ์ อย่างไรเสียผู้ชมก็จะยังคงเห็นเค้าความบ้าที่ติดมาอยู่ดี ทั้งๆ ที่ตัวละครของคิงไม่ได้บ้าแบบนั้นมาตั้งแต่แรก อีกส่วนหนึ่งที่คิงไม่เห็นด้วยก็คือการตีความของคูบริกเอง ขณะที่ในหนังสือมันเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น แต่คิงกลับไม่เห็นโศกนาฏกรรมในภาพยนตร์ และแทนที่ตอนจบจะจบลงด้วยกองเพลิง
มันก็จบลงด้วยความยะเยือกแทน นี่เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้าใจได้ว่าหลายคนที่ได้อ่านต้นฉบับทำไมถึงไม่ชอบภาพนตร์ของคูบริก แต่สิ่งที่ยอดเยี่ยมมากๆ จนต้องยอมรับก็คือ The Shining มีฉากที่น่าจดจำอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรากฎตัวของเด็กแฝด ฉากปั่นจักรยานของแดนนี่ ลวดลายของเขาวงกต และใบหน้าของแจ็ค ทอร์แรนซ์ที่มองผ่านประตู
สตีเฟ่น คิง ไม่ได้ลงมือเขียนภาคต่อของ The Shining ในทันที แต่มันผ่านเวลามาถึง 36 ปี กว่าที่ Doctor Sleep จะถูกตีพิมพ์ และเผยให้เห็นถึงบทสรุปในชีวิตของแดนนี่ ซึ่งตัวคิงเองก็สงสัยอยู่เสมอว่าเกิดอะไรขึ้นกับแดนนี่เมื่อเขาโตขึ้น คิงจึงตัดสินใจเขียนภาคต่อนี้ออกมา
คราวนี้ผู้กำกับที่จะมาสานต่อก็คือ ไมค์ ฟลานาแกน ผู้กำกับภาพยนตร์/ซีรีส์สยองขวัญหน้าใหม่ไฟแรงที่เคยฝากความระทึกขวัญมาแล้วกับ Hush (2016), Gerald’s Game (2017) และ The Hunting of Hill House (2018) เหนือสิ่งอื่นใดเขาเป็นแฟนตัวยงของคิง และในเมื่อเรื่องที่คิงไม่ปลื้ม The Shining เป็นที่รู้โดยทั่วกัน ในการทำงานครั้งนี้ทั้งสองจึงต้องมีการพูดคุยกันตั้งแต่ต้นในหลายๆ จุดที่ภาพยนตร์ต้องการจะให้เป็น เพราะไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่คูบริกได้ทำไว้ก็ยังติดตรึงผู้ชมอยู่เช่นกัน คิงจึงอ่านบทภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างระมัดระวัง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเขาต้องการให้ Doctor Sleep ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่ต้องการให้มีอะไรผิดพลาดอีก เมื่อคิงได้อ่านบทเขาก็พูดกับตัวเองว่า ทุกสิ่งที่ไม่ชอบเกี่ยวกับ The Shining ได้รับการแก้ไขให้กับเขาแล้ว
แต่ความท้าทายสำคัญของไมค์ก็คือ หนังสือนั้นชัดเจนอยู่แล้วว่าในตอนจบโรงแรมจะจมอยู่ในเปลวเพลิง ภาษาที่คูบริกใช้สร้าง The Shining กลายเป็นสิ่งที่แพร่หลาย และเป็นส่วนหนึ่งของจิตสำนึกร่วมของเขาแต่เมื่อได้อ่าน Doctor Sleep หนังสือนั้นพูดโดยชัดเจนว่า “ภาพยนตร์ของคูบริกไม่เคยเกิดขึ้น”
นั่นทำให้ไมค์ต้องเปลี่ยนตอนจบของ Doctor Sleep ด้วยการพาทุกคนกลับไปที่โรงแรมแห่งนั้น แล้วทำให้บางอย่างถูกต้องเสียที ไมค์บอกกับคิงว่า “ผมคิดว่าคุณต้องใช้สัญลักษณ์บางอย่างของคูบริกอย่างไม่มีทางเลือก แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่ผมให้ได้ก็คือการพาเราย้อนกลับไปสู่ตอนจบดั้งเดิมของ The Shining ซึ่งเป็นสิ่งที่คูบริกไม่ได้ให้คุณ” มันสร้างความลำบากไม่น้อยเช่นกันสำหรับไมค์ เพราะเขาเองก็เป็นแฟนของทั้งคู่ แต่ก็เป็นการยากที่จะพูดกับคิงว่า
“ผมเข้าใจว่าทำไมคุณถึงไม่ชอบ The Shining ในฐานะแฟนหนังสือผมเห็นว่ามันไม่ได้เป็นการดัดแปลงที่ยอดเยี่ยม แต่มันเป็นผลงานชิ้นเอกของภาพยนตร์ ดังนั้นเราจะเชิดชูทั้งสองสิ่งนี้ไปพร้อมกันได้อย่างไร ซึ่งมันต้องมีวิธี”
หลังจากที่คิงให้การอนุมัติในการสร้างแล้ว เขาก็ถอยตัวเองออกไปเลย และปล่อยให้ไมค์ได้ทำงานอย่างที่ตั้งใจ คิงพูดกับไมค์ว่า “หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือของผม และผมต้องการให้ภาพยนตร์เป็นของคุณ ผมไม่ต้องการเข้าไปยุ่ง”
เมื่อสูญเสียแจ็คไปแล้ว เวนดี้ก็พยายามเลี้ยงดูแดนนี่ให้ดีที่สุด แต่ถึงจะอยู่ห่างไกลแค่ไหนจากโรงแรมโอเวอร์ลุก แดนนี่ก็ยังถูกสิ่งชั่วร้ายตามมาหลอกหลอนอยู่ดี ซึ่งต่อมาเขาก็ได้เรียนรู้ว่าควรจัดการกับมันอย่างไร นั่นคือการสร้างกล่องภายในใจขึ้นมาขังพวกมันไว้ ชีวิตของแดนนี่ดำเนินไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เขาปิดบังพลังไชน์นิ่งของตัวเองมาตลอด แม้ว่าบางครั้งมันจะทำให้เขามองเห็นความเป็นความตายอย่างชัดเจน อย่างในวันที่แม่ของเขากำลังจะจากไป แดนนี่รับมือกับชีวิตได้ไม่ดีนัก เขาติดแอลกอฮอล์ ต่อยตีกับคนอื่น เมาหยำเปเพื่อให้แต่ละวันผ่านไปอย่างไม่ยากเย็นนัก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแดนนี่ก็เกินจะทนกับความเจ็บปวดทั้งหมดที่สั่งสมมา เขาจึงย้ายไปยังสถานที่อันห่างไกล และได้เข้าทำงานเป็นบุรุษพยาบาล ณ ที่แห่งนี้เอง เขาได้ใช้ไชน์นิ่งของตัวเองเพื่อส่งให้ผู้ป่วยนอนหลับไปตลอดกาลอย่างสงบ
แม้ว่าเราจะไม่ได้เห็นช่วงเวลาในการเติบโตของแดนนี่ แต่ร่องรอยของความผุพังก็ปรากฏให้เห็นอยู่ในแววตา เขาอ่อนล้า โรยแรง ไร้คนรักและที่พึ่งพิง การกระทำที่ผ่านมาของเขาแทบไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่พ่อเคยเป็นเลย ยิ่งหนีเงาของพ่อมากเท่าไรก็ดูเหมือนว่าเขาจะติดอยู่เงามากเท่านั้น ในหนสุดท้ายนี้แดนนี่จึงลงมือทำในสิ่งที่พ่อไม่เคยทำได้ นั่นคือการฟื้นฟูตัวเองเพื่อเป็นคนที่ดีกว่าเดิม
ชีวิตของแดนนี่กลับมาสดใสได้อยู่หลายปี จนความชั่วร้ายเดินทางเข้ามาใกล้ พวกเขามีนามว่ากลุ่มทรูน็อต ซึ่งนำโดย โรส เดอะแฮต มันเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีไชน์นิ่งเป็นของตัวเอง แต่พวกเขามีอายุขัยมาอย่างยาวนานด้วยการกลืนกินไชน์นิ่งของคนอื่น “Live long. Eat well.” เป็นคำติดปากของโรส แล้วเธอก็ค้นพบกับขุมพลังอันยิ่งใหญ่ แอบรา เด็กหญิงที่มีไชน์นิ่งอย่างที่โรสไม่เคยพบมาก่อน โรสพบเธอเพราะแอบราดันนิมิตเห็นพิธีกรรมชั่วช้า ทันทีที่แอบรารู้สึกถึงการมีอยู่ของคนกลุ่มนี้ เธอจึงไปขอความช่วยเหลือจากแดนนี่ เนื่องจากแดนนี่กับแอบราสื่อสารกันอยู่เนืองๆ จากการเป็นเพื่อนทางจดหมาย (พวกเขาพูดคุยผ่านตัวหนังสือบนกำแพงห้องของแดนนี่) การปรากฏตัวของกลุ่มทรูน็อตจึงเป็นการพาแดนนี่ย้อนกลับไปยังอดีตที่ยากจะลืมเลือน
ผลกระทบของบาดแผลทางใจมักจะคงอยู่ยาวนาน สิ่งที่แดนนี่ต้องเผชิญแทบไม่ต่างอะไรจาก PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ผลกระทบของมันครอบคลุมแทบจะทุกสิ่งในชีวิตของคนๆ หนึ่ง ทั้งสุขภาพ ความสัมพันธ์ และความสามารถในการจัดการสิ่งต่างๆ แดนนี่จึงเลือกที่จะขังทุกอย่างไว้ภายในใจ ทั้งความทรงจำและภูติผีปีศาจ ระบายออกผ่านแอลกอฮอล์ บางคืนก็นอนเหน็บหนาวอยู่ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ เขาไม่รู้ว่าจะโอบกอดตัวเองให้ลุกขึ้นยืนอีกครั้งได้อย่างไร จนกระทั่งการจับรถไปยังเมืองที่ตัวเองไม่รู้จัก เมืองที่คนแปลกหน้าถามคนแปลกหน้าว่าคุณหนีอะไรมา
คงกล่าวได้ไม่ผิดนักหากบอกว่า Doctor Sleep ถูกขับเคลื่อนไปด้วยปมความเจ็บปวดของแดนนี่ เขามีชีวิตอยู่จนล่วงผ่านเวลามาเป็นระยะเวลากว่าสี่สิบปี โดยที่ยังติดอยู่กับความกลัว รีวิว Doctor Sleep ลางนรก
ความรู้สึกผิด และความไร้ค่า ไชน์นิ่งของเขามีแต่จะเก็บกดเขาไว้ โดยที่ไม่เคยได้ส่องประกายออกมาจริงๆ เลย การได้เข้ามาเป็นบุรุษพยาบาลและเจอเพื่อนที่ดีถึงได้เป็นเหมือนการพบที่ทางของตน แดนนี่เผชิญหน้ากับความตายทุกวัน เขารู้ดีว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ แล้วมื่อเขาได้ช่วยใครสักคนให้จากไปอย่างสงบ เขาก็พบความสงบในใจของตัวเองเช่นกัน
หากใครยังจำเรื่องราวในตอนเด็กของแดนนี่กันได้ เขาจะมีชื่อเล่นที่แม่ใช้เรียกตัวเองว่าด็อก อันมีที่มาจากการ์ตูนที่เขาชอบดู นั่นคือ Bugs Bunny (ตอนพบกับดิ๊ค—ชายผิวสีที่มีไชน์นิ่ง ครั้งแรกในโรงแรม ดิ๊คก็เรียกแดนนี่ด้วยชื่อนี้เช่นกัน)
ชื่อเล่นนี้ไม่มีใครใช้เรียกเขาอีกแล้ว ในวันที่ทั้งดิ๊คและแม่จากไป ตัวแดนนี่เองก็คงไม่คิดว่าตนจะถูกเรียกด้วยชื่อนี้อีกครั้ง จนกระทั่งเขามาทำงานเป็นบุรุษพยาบาล แล้วได้รับฉายา ‘ด็อก(เตอร์สลีป)’ จากการกระทำที่ช่วยให้คนใกล้หมดลมหายใจหลับใหลในห้วงนิทราที่จะไม่ตื่นขึ้นมาอีก สำหรับผู้เขียน Doctor Sleep ยังมีความหมายในอีกนัยหนึ่ง เพราะในขณะที่แดนนี่ทำให้คนอื่นหลับ มันกลับเป็นการปลุกไชน์นิ่งของตัวเอง ไชน์นิ่งที่เขาก็พยายามให้มันหลับตลอดมา
ขณะที่สิ่งที่กลุ่มทรูน็อตทำก็ไม่ต่างอะไรจากการหลบหนีเช่นกัน พวกเขาไม่ได้หลบหนีอดีตอย่างแดนนี่ แต่กลับหนีสิ่งที่มนุษย์ไม่มีทางหนีได้ นั่นคือความตาย และมันต้องสังเวยด้วยชีวิตของคนอื่น เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ยืดความตายออกไปอีกหน่อย ซึ่งมันสามารถยืดออกไปได้นานพอที่ร่างกายจะค่อยๆ เสื่อมสมรรถภาพลง ผนวกกับที่การตามหาไชน์นิ่งนั้นหาไม่ได้ง่ายๆ อย่างแต่ก่อน พวกเขาจึงพะวงกับความตายยิ่งๆ ขึ้น เพราะปฏิเสธมันมาโดยตลอด และเมื่อความตายมาประชิดตัวเข้าจริงๆ มันก็ช่างทรมานสาหัสกว่าที่จะหายไป ร่างของพวกเขาจะทุรนทุรายตะเกียดตะกายเอาลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนจะแหลกสลายจนไม่เหลือแม้แต่ผุยผง